ปวดประจำเดือน♦ ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ♦ ประจำเดือนมามากหรือน้อย ♦ มีบุตรยาก ♦ บำรุงครรภ์ ♦ บำรุงหลังคลอดบุตร ⇔
ปาเจินวาน (โป๊ยเตียงอี๊) 八珍丸 Ba Zhen Wan
Tags: สมุนไพรสำเร็จรูป-โลหิต, สมุนไพรสำเร็จรูป-บำรุงพลัง, สมุนไพรสำเร็จรูป-ทางเดินอาหาร, ผลิตภัณฑ์สุภาพสตรี, ผลิตภัณฑ์-บำรุงเลือด, ผลิตภัณฑ์-บำรุง, ผลิตภัณฑ์-ทางเดินอาหาร, sup-lanzhou, product-สตรี, product-เลือด
บำรุงเลือดและพลัง(ชี่) ♦ ⇔ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่เลือดลมไม่บริบูรณ์ หรือผู้ที่ต้องการบำรุงเลือดทั่วไป ⇔
โป๊ยเตียงอี๊ 八珍丸 Ba Zhen Wan
หรือ EIGHT TREASURES Pill
สรรพคุณของตำรับ
บำรุงพลัง(ชี่) และเลือด
วิธีใช้
รับประทานครั้งละ 8 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
ขนาดบรรจุ
ขวดละ 200 เม็ด
ส่วนประกอบ
- ปักตังเซียม 党参 (Rx. Codonopsis) Dang Shen "จัดอยู่ในกลุ่มสมุนไพรบำรุงพลัง(ชี่) โดยเฉพาะพลังของ""จงเจียว"" หรืออวัยวะภายในช่องท้อง ช่วยบำรุงพลังของม้าม กรณีม้ามพร่อง ทำให้เบื่ออาหาร หรือพลังของปอดพร่อง ทำให้เสมหะมาก ช่วยบำรุงเลี้ยงเลือด สร้างสารเหลวในร่างกาย"
- แปะตุ๊ก 白术 (Rz. Atractylodis Macrocephalae) Bai Zhu บำรุงม้าม เสริมพลัง ขจัดความชื้น
- หกเหล็ง 茯苓 (Poria) Fu Ling : ขจัดชื้น ทำให้ม้ามแข็งแรง
- กำเช่า 甘草 (Rx. Glycyrrhizae Preparata ) Zhi Gan Cao : เสริมพลังชี่ ให้ความอบอุ่นแก่จงเจียว(อวัยวะภายในช่องท้อง) และทำให้จงเจียวแข็งแรง กำกับ และสร้างสมดุลระหว่างสมุนไพรทั้งหลายในตำรับ
- เส็กตี่ 熟地黄 (Rx. Rehmanniae Preparata) Shu Di Huang : ทำให้ตับและไต แข็งแรง บำรุงเลี้ยงหยินของเลือด
- แปะเจียก 白芍药 (Rx. Paeoniae Alba) Bai Shao : บำรุงเลือด เก็บรักษาหยิน
- ตังกุย 当归 (Rx. Angelicae Sinensis) Dang Gui : บำรุงเลือด ทำให้ลำไส้ชุ่มชื้น กำกับให้ตับและไตทำงานประสานกัน
- ชวงเกียง 川芎 (Rz. Ligustici Chuanxiong) : บำรุงเลือด ส่งเสริมการไหลเวียนของพลัง (ชี่)
อธิบายตำรับ
สมุนไพรในตำรับนี้คือการผสานรวมของตำรับโบราณสองตำรับ คือ
- Si Wu Tang เสริมเลือด เป็นตำรับสุดยอดในการบำบัดอาการพร่องของหยินและเลือด
- Si Jun Zi Tang ช่วยฟื้นฟูการทำงานของม้ามและกระเพาะอาหาร เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดและพลัง
ทฤษฎีเบื้องหลังตำรับนี้
คือความสัมพันธ์ของเลือดและพลัง(ชี่)
- เลือด ถือว่าเป็นหยินของของเหลวที่สำคัญของร่างกาย นอกเหนือจากการ supply และบำรุงอวัยวะต่างๆ เลือดยังรับหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การนำพาพลัง (ชี่) ตามทัศนะการแพทย์แผนจีน เลือด และพลัง(ชี่) จะเติมเต็มซึ่งกันและกัน การพร่องเกิดขึ้นเมื่อร่างการเสียเลือดมาก หรือขาดวัตถุดิบมาสร้างเป็นเลือดและพลัง(ชี่) สาเหตุอาจเกิดจาก โลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการเรืัอรัง การเจ็บป่วยนานๆ เป็นต้น ผลที่เกิดขึ้นคือ หากอวัยวะภายในขาดการบำรุงเลี้ยง ผิวจะหมอง หากบริเวณศีรษะขาดการบำรุงเลี้ยง จะเกิดอาการเวียนศีรษะ และอวัยวะที่มักได้รับผลกระทบคือ หัวใจ ซึ่งแสดงอาการออกที่บริเวณช่องอก
- ชี่พร่อง อาการเริ่มต้น เช่น อ่อนเพลีย ไม่อยากพูด หลังจากนั้นจะเกิดผลกระทบต่อกระเพาะอาหารและม้าม ซึ่งมีหน้าที่รองรับอาหาร แล้วเปลี่ยนให้เป็นสารอาหาร และของเหลว ซึ่งตัองใช้พลังตลอดเวลา การที่พลังพร่อง จึงมีผลทำให้เบื่ออาหาร
การผสานรวมของสองตำรับนี้จึงสนับสนุนซึ่งกันและกันให้ผลในการบำบัดที่มีประสิทธิผลสูงขึ้นเพราะชี่และเลือดต้องพึ่งพากัน การบำรุงชี่หรือเลือดเพียงอย่างเดียวจะให้ผลช้ากว่าการบำรุงชี่และเลือดไปพร้อมกัน